analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือก ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ และ ส.ว.
ประชาชน 57.9% ค้านการยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์
58.6% อยากได้ ส.ว. ทั้งหมดที่มาจากการเลือกของประชาชน
และ 61.6% เชื่อจะทำให้ได้ ส.ว. ที่เก่งและดีมากกว่าการสรรหา
นอกจากนี้ 52% สนับสนุนให้องค์กรอิสระถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทน ส.ว.
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือก ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์
และ ส.ว.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน
พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 ไม่อยากให้ยกเลิกระบบการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ เพราะระบบนี้
ช่วยเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ไม่ชำนาญการลงพื้นที่หาเสียง
สามารถเป็น ส.ส. ได้
ขณะที่ร้อยละ 31.0 อยากให้ยกเลิก เพราะไม่ต้องการให้มีนายทุน
มาสนับสนุนพรรคการเมือง ส่วนร้อยละ 11.1 ไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนความเห็นเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาหรือ ส.ว. พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 เห็นว่า ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด
รองลงมาร้อยละ 25.7 เห็นว่า ส.ว. ควรเป็นแบบผสมทั้งจากการสรรหาและการเลือกตั้ง
และมีเพียงร้อยละ 9.0 เท่านั้นที่เห็นว่าควรมาจากเลือกตั้งทางอ้อม โดยให้แต่ละกลุ่ม
วิชาชีพเป็นผู้คัดเลือก ส่วนผู้ที่เห็นว่าควรมาจากการสรรหาทั้งหมดมีร้อยละ 3.6 ที่เหลือ
ร้อยละ 3.1 ไม่แน่ใจ
 
                 นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 เห็นว่าการเลือกตั้ง ส.ว. จะช่วยให้ได้คนเก่งและดี
มาทำงานมากกว่าวิธีการสรรหา
ขณะที่ร้อยละ 24.4 เห็นว่าวิธีการสรรหาเป็นวิธีที่ดีกว่า ที่เหลือร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรเป็นหน้าที่ของใคร” ส่วนใหญ่
ร้อยละ 52.0 เห็นว่าควรเป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ร้อยละ 35.0 คิดว่าควรเป็นหน้าที่ของ
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เหมือนเดิม และร้อยละ 13.0 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “อยากให้ยกเลิกระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
                   แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) หรือไม่”

 
ร้อยละ
ไม่อยากให้ยกเลิก เพราะ ช่วยเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
                                      แต่ไม่ชำนาญการลงพื้นที่ หาเสียงสามารถเป็น
                                      ส.ส. ได้
57.9
อยากให้ยกเลิก เพราะ ไม่ต้องการให้มีนายทุนมาสนับสนุนพรรคการเมือง
31.0
ไม่แน่ใจ
11.1
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดว่า ระบบการเลือกสมาชิกวุฒิสภาหรือ ส.ว. ควรเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด
58.6
ควรเป็นแบบผสมทั้งจากการสรรหาและการเลือกตั้ง
25.7
ควรมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยให้แต่ละกลุ่มวิชาชีพเป็นผู้คัดเลือก
9.0
ควรมาจากการสรรหาทั้งหมด
3.6
ไม่แน่ใจ
3.1
 
 
             3. ข้อคำถาม “คิดว่าระหว่างสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการเลือกตั้ง กับ ส.ว. ที่มาจากการ
                   สรรหา แบบใดจะช่วยให้ได้คนเก่งและดีมาทำงานมากกว่ากัน”

 
ร้อยละ
แบบ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งมากกว่า
61.6
แบบ ส.ว. ที่มาจากการสรรหามากกว่า
24.4
ไม่แน่ใจ
14.0
 
 
             4. ข้อคำถาม “คิดว่าการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรเป็นหน้าที่ของใคร”

 
ร้อยละ
องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
52.0
เป็นหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
35.0
ไม่แน่ใจ
13.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการยกเลิกระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
                      แบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์
                  2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อระบบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ประชาชนอยากได้
                  3) เพื่อสะท้อนความเห็นว่าใครควรทำหน้าที่ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Phone Survey) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24 - 26 พฤศจิกายน 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 พฤศจิกายน 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
645
54.1
             หญิง
547
45.9
รวม
1,192
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
178
14.9
             31 – 40 ปี
279
23.4
             41 – 50 ปี
318
26.6
             51 – 60 ปี
271
22.8
             61 ปีขึ้นไป
146
12.3
รวม
1,192
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
815
68.4
             ปริญญาตรี
303
25.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
74
6.2
รวม
1,192
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
142
11.9
             ลูกจ้างเอกชน
286
24.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
553
46.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
39
3.3
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
129
10.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
25
2.1
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
12
1.0
รวม
1,192
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776